Thursday, September 11, 2014

คำศัพท์ฟิสิกส์






  • physics (ฟิสิกส์) ศาสตร์ที่มุ่งทำความเข้าใจทุกสิ่งตั้งแต่ระดับเล็กกว่าอะตอมไปจนถึงเอกภพ



  • quantum (ฟิสิกส์ควอนตัม) ฟิสิกส์ของวัตถุขนาดเล็กระดับอะตอมและปรากฎการณ์ระดับอะตอม เช่น การแผ่รังสี



  • atom (อะตอม) ชิ้นส่วนเล็กๆที่รวมกันเป็นสสาร อะตอมมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยอิเล็กตรอนหนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น



  • particle (อนุภาค) ในฟิสิกส์ใช้เรียกสิ่งที่่ขนาดเล็กกว่าอะตอมมากๆ อนุภาคบางชนิดก็เป็นส่วนประกอบของอะตอม เช่น โปรตอน นิวตรอน



  • subatomic particle (อนุภาคย่อยของอะตอม) ใช้เรียกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เช่น โปรตอน อิเล็กตรอน หรืออนุภาคที่เล็กกว่านั้นคือควาร์ก




  • nucleus (นิวเคลียส) คือศูนย์กลางของอะตอมเกิดจากโปรตรอนและนิวตรอน มวลของนิวเคลียสถือเป็นมวลส่วนใหญ่ของอะตอม


  • electron (อิเล็กตรอน) หนึ่งในสามอนุภาคหลักของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ


  • protron (โปรตรอน) หนึ่งในสองอนุภาคในนิวเคลียส มีประจุไฟฟ้าบวก


  • neutron (นิวตรอน) หนึ่งในสองอนุภาคหลักในนิวเคลียสไม่มีประจุไฟฟ้า


  • photon (โฟตอน) อนุภาคของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมองว่าคลื่นก็ประพฤติตัวเป็นอนุภาคด้วย


  • radioactive (กัมมันตรังสี) คืออนุภาคความเร็วสูงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนอะตอมอยู่ในภาวะไม่เสถียร


  • wave (คลื่น) คือกระบวนการในการถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งหรือเป็นการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดออกไปยังบริเวณโดยรอบ


  • wavelength (ความยาวคลื่น) คือระยะห่างระหว่างยอดคลื่นหนึ่งถึงอีกยอดคลื่นหนึ่ง

  • velocity (ความเร็วคลื่น) คือระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ในหนึ่งวินาที

  • frequency (ความถี่) คือจำนวนคลื่นที่ผ่านไปในหนึ่งวินาที

  • electromagnetic wave (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) คือรูปแบบของพลังงานที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงและมีสมบัติที่เป็นได้ทั้งคลื่นหรืออนุภาค เป็นคลื่นที่ไม่อาศัยตัวกลางในการถ่ายเทพลังงาน

  • radio wave (คลื่นวิทยุ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งมีคุณสมบัติกระจายไปได้เป็นระยะทางไกล ด้วยความเร็วเท่ากับแสงคือ 300 ล้านเมตรต่อวินาที

  • microwave (ไมโครเวฟ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยามคลื่นมากกว่ารังสีอินฟราเรด แต่สั้นกว่าคลื่นวิทยุส่วนใหญ่

  • Gamma rays (รังสีแกมมา) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งมีความยาวคลื่นสั้น สารกัมมันตรังสีสามารถแผ่รังสีแกมมาได้

  • Infrared ray (รังสีอินฟาเรด) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นมากกว่าคลื่นแสง สิ่งที่มาพร้อมกับรังสีอินฟาเรดก็คือความร้อน

  • X-rays (รังสีเอกซ์) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่นอยู่ระหว่างรังสีแกมมาและรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ทะลุผ่านส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ยกเว้นกระดูกและฟัน

  • ultraviolet (แสงอัลตราไวโอเลต) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าคลื่นแสง

  • light (แสง) คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แสงสีขาวเกิดจาการผสมกันของแสงทุกๆ สีที่เราเห็นในรุ้ง

  • reflection (การสะท้อน) คือการที่แสงเคลื่อนที่ไปตกกระทบกับสิ่งกีดขวางหรือรอยต่อระหว่างตัวกลางแล้วเปลี่ยนทิศสะท้อนกลับ มาในตัวกลางเดิม

  • refraction (การหักเห) คือการเลี้ยวเบนของลำแสงเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เช่น อากาศไปสู่น้ำ

  • index of refraction (ดรรชนีหักเห) คืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศกับอัตราเร็วของแสงในตัวกลางใดๆ

  • spectrum (สเปกตรัม) การจัดลำดับของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียงตามความยาวคลื่นจากสั้นที่สุดไปยาวที่สุด สีของรุ้งในสเปกตรัมก็คือสีของคลื่นแสงที่ตามองเห็น

  • sound (เสียง) การสั่นของโมเลกุล แผ่ออกจากจุดกำเนิดในรูปคลื่นผ่านออกหรือตัวกลาง ชนิดอื่น ๆ

  • infrasound (อินฟราซาวด์) คือเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์

  • ultrasound (อัลตราซาวน์) คือเสียงที่มีความถี่มากกว่า 20000 เฮิรตซ์

  • interference (การแทรกสอด) คืิอการรบกวนที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่น 2 ชุดหรือมากกว่านั้น (เช่นคลื่นแสงหรือคลื่นเสียง) เคลื่อนชนกัน



  • heat (ความร้อน) คือพลังงานรูปหนึ่งที่สะสมอยู่ในรูปพลังงานจลน์ของโมเลกุลของวัตถุ

  • conduction (การนำความร้อน) คือการถ่ายเทความร้อนผ่านตัวกลาง โดยตัวกลางไม่เคลื่อนที่ ตัวกลางจึงมักเป็นของแข็ง

  • convection (การพาความร้อน) คือการถ่ายเทความร้อนผ่านของไหล (ของเหลวหรือก๊าซ) โดยของไหลมีการเคลื่อนที่ไปด้วย

  • radiation (การแผ่รังสีความร้อน) คือการถ่ายโอนพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น แสง) รังสีชนิดต่าง ๆ ที่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีก็เกิดจากการแผ่รังสีเช่นกัน

  • temperature (อุณหภูมิ) ระดับความร้อนหรือเย็นของวัตถุ

  • freezing point (จุดเยือกแข็ง) คืออุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง

  • boiling point (จุดเดือด) คืออุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ทั่วทั้งก้อน

  • melting point (จุดหลอมเหลว) คืออุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลว

  • matter (สสาร) สิ่งใดก็ตามที่มีมวลและต้องการที่อยู่

  • molecule (โมเลกุล) สสารที่ประกอบขึ้นจากอะตอมสองตัวขึ้นไปที่ยึดกันอย่างแข็งแรง

  • solid (ของแข็ง) สถานะของสสาร มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบใกล้ชิดกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก อนุภาคของแข็งจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่จะสั่นไปมาได้เล็กน้อย เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อยมาก

  • liquid (ของเหลว) คือสถานะของสสารที่อยู่ระหว่างของแข็งกับก๊าซ โมเลกุลเคลื่อนที่ได้แต่ยังคงมีแรงดึงดูดระหว่างกัน

  • gas (ก๊าซ) คือสถานะของสสาร แต่ละโมเลกุลอยู่ห่างกันมากและเคลื่อนที่อย่างอิสระ

  • fluid (ของไหล) คือสสารที่ไหลได้ ของเหลวและก๊าซต่างก็เป็นของไหล

  • evaporation (การระเหย) คือการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารจากของเหลวเป็นก๊าซ

  • sublimation หรือ primary drying (การระเหิด) คือเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารจากของแข็งกลายเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว


  • electricity (ไฟฟ้า) ผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า

  • electric current (กระแสไฟฟ้า) คือการไหลของประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำจนครบวงจร

  • charge (ประจุไฟฟ้า) คือปริมาณที่ทำให้วัตถุรู้สึกได้ถึงแรงทางไฟฟ้า มี 2 ชนิด คือ ประจุไฟฟ้าลบและบวก

  • electrical circuit (วงจรไฟฟ้า) คือเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

  • series circuit (การต่อวงจรแบบอนุกรม) กระแสไฟฟ้าจะไม่แยกไหล กระแสไฟฟ้าเท่ากันตลอด

  • parallel circuit (การต่อวงจรแบบขนาน) กระแสไฟฟ้าแยกไหล

  • resistor (ตัวต้านทาน) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อควบคุมกระแสและแรงดันภายในวงจรให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

  • conductor (ตัวนำ) คือสิ่งที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี มีความต้านทานน้อย

  • insulator (ฉนวน) คือสิ่งที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน มีความต้านทานมาก

  • force (แรง) คือปริมาณเวกเตอร์ที่ประกอบด้วยขนาดและทิศทาง แรงจะทำให้ความเร็ว ทิศทาง หรือรูปร่างของวัตถุเปลี่ยน


  • gravitational force (แรงโน้มถ่วง) เช่นแรงดึงดูดของโลก มีเฉพาะแรงดูดเท่านั้น เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลทั้งหลายเข้าด้วยกัน

  • magnetic force (แรงแม่เหล็ก) เป็นแรงดูดและแรงผลักระหว่างขั้วแม่เหล็ก

  • magnetism (ความเป็นแม่เหล็ก) คือสมบัติหนึ่งของสสาร โดยเฉพาะโลหะในการดึงดูดหรือผลักโลหะอีกอัน

  • magnetic field (สนามแม่เหล็ก) อาณาบริเวณรอบๆ สารแม่เหล็กที่แรงแม่เหล็กส่งไปถึงได้

  • electric force (แรงไฟฟ้า) เป็นแรงดูดและแรงผลักระหว่างประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ

  • electric field (สนามไฟฟ้า) บริเวณโดยรอบประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้าสามารถส่งอำนาจไปถึง

  • nuclear force (แรงนิวเคลียร์) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคต่างๆภายในนิวเคลียสของอะตอม

  • resultance force (แรงลัพธ์) คือผลรวมของแรงหลายแรงที่มากระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกันก็เปรียบเสมือนมีแรงเพียงแรงเดียวกระทำต่อวัตถุนั้นเอง

  • mass (มวล) เป็นปริมาณสเกลาร์ ในระบบเอสไอใช้หน่วยฐานของมวลเป็นกิโลกรัม เป็นสมบัติทางความเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

  • weight (น้ำหนัก) เป็นแรงจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งมีทิศเดียวกับความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง มีหน่วยเป็นนิวตัน

  • distance (ระยะทาง) คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ 

  • displacement (การกระจัด) คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่ เป็นปริมาณเวกเตอร์

  • speed (อัตราเร็ว) คือระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา

  • velocity (ความเร็ว) คือการกระจัดที่เปลี่ยนแปลงไปในหนึ่งหน่วยเวลา

  • acceleration (ความเร่ง) คือความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไปในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งอาจจะคงที่หรือไม่คงที่ก็ได้


  • ticker timer (เครื่องเคาะสัญญาณเวลา) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หาอัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ในระยะเวลาสั้นๆ

  • inertia (ความเฉื่อย) สมบัติของวัตถุที่พยายามรักษาสถานะการเคลื่อนที่ไว้

  • drag (แรงต้าน) แรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเคลื่อนที่ผ่านก๊าซหรือของเหลว

  • lift (แรงยก) แรงยกวัตถุที่เกิดขึ้นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านของไหล เช่น แรงยกที่ปีกเครื่องบิน

  • action force (แรงกิริยา) คือแรงใดๆที่กระทำต่อวัตถุที่จุดใดจุดหนึ่ง

  • reaction force (แรงปฏิกิริยา) คือแรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกันโดยมีขนาดเท่ากับแรงกิริยา แต่มีทิศทางตรงข้าม

  • friction (แรงเสียดทาน) เป็นแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อวัตถุมีพื้นผิวสัมผัสกันโดยมีทิศตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ

  • static friction (แรงเสียดทานสถิต) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุยังไม่เคลื่อนที่

  • kinetic friction (แรงเสียดทานจลน์) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุเลื่อนที่

  • center of mass (จุดศูนย์กลางมวล) คือจุดที่เสมือนเป็นที่รวมมวลของวัตถุทั้งก้อน

  • centre of gravity (จุดศูนย์กลางโน้มถ่วง) หรือจุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เสมือนเป็นที่รวมน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน

  • montion in a circle (การเคลื่อนที่แบบวงกลม) วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม บนระนาบใดๆ อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่งของวัตถุจะคงที่หรือไม่ก็ได้ แต่ความเร็วของวัตถุไม่คงที่แน่นอน


  • projectile (การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์) การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งพร้อมๆกันจนเกิดเป็นเส้นโค้งรูปพาราโบลา


  • energy (พลังงาน) คือความสามารถในการทำงาน


  • machanical energy (พลังงานกล) คือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ ที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ พลังงานจลน์และพลังงานศักย์


  • kinetic energy (พลังงานจลน์) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่


  • potential energy (พลังงานศักย์) เป็นพลังงานที่ถูกเก็บสะสมไว้ในวัตถุเมื่อวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง แบ่งเป็น 2 แบบคือ พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานศักย์ยืดหยุ่น


  • power (กำลัง) งานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา


  • momentum (โมเมนตัม) เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่บอกสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ


  • moment (โมเมนต์) ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน โมเมนต์มี 2 ชนิดคือ โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาและโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา


  • lever (คาน) คือเครื่องกลชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือการทำงานหรืออำนวยความสะดวกในการทำงาน


 
  • pulley (รอก) คือเครื่องกลชนิดหนึ่งซึ่งอาจช่วนผ่อนแรงหรือไม่ผ่อนแรงแต่อำนวยความสะดวก

  • mass density (ความหนาแน่น) คืออัตราส่วนระหว่างมวลของสารต่อปริมาตรของสาร

  • buayancy force (แรงลอยตัว) คือแรงที่ของเหลวพยุงวัตถุไว้ เมื่อวัตถุนั้นอยู่ในของเหลว

  • specific gravity (ความถ่วงจำเพาะ) อัตราส่วนระหว่างมวลหรือน้ำหนักของสารเทียบกับมวลหรือน้ำหนักของน้ำ หรืออัตราส่วนของความหนาแน่นของสารเทียบกับความหนาแน่นของน้ำ

  • atmosphere (บรรยากาศ) อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ หนาไม่เกิน 1000 กิโลเมตรจากผิวโลก

  • pressure (ความดันอากาศ) แรงดันของอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่


  • work (งาน) คือการวัดปริมาณพลังงานที่ใช้มีค่าเท่ากับแรงที่ใช้คูณระยะทางที่ออกแรง

แบบทดสอบ


เฉลยแบบทดสอบ